เลิร์นเอเชีย สำรวจประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และไทย เน้นตามดูพฤติกรรมการใช้มือถือของกลุ่มคนในระดับ "Bottom of Pyramid" หรือกลุ่มคนระดับกลางล่าง ถึงล่าง ซึ่งไทยถือเป็นอันดับ 1 ที่กลุ่มดังกล่าวเป็นเจ้าของมือถือมากถึง 91% ศรีลังกา 73% ฟิลิปปินส์ 63% อินเดีย 45% บังกลาเทศ 43% และปากีสถาน 41%
เลือกมือถือมากกว่าโทรฯ บ้าน
นางสาวภูรี สิรสุนทร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้ เผยผลสำรวจที่ระบุว่า กลุ่มคนระดับนี้ ถือว่า มือถือ เป็นความจำเป็นแรกที่จะใช้ติดต่อสื่อสาร มากกว่าโทรศัพท์บ้านที่เขาเลือกใช้เป็นอันดับ 2 ขณะที่ พฤติกรรมการใช้ยังคงเน้นการรับสาย โทรเข้า โทรออกเป็นหลัก หากแต่เริ่มพบว่า กว่า 17% เริ่มใช้มือถือเล่นเกม 22% ใช้ฟังวิทยุ นั่นหมายความว่า กลุ่มคนเหล่านี้เริ่มต้องการใช้งานมือถือที่นอกเหนือจากเสียงมากขึ้น
นางสาวภูรี สิรสุนทร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยครั้งนี้ เผยผลสำรวจที่ระบุว่า กลุ่มคนระดับนี้ ถือว่า มือถือ เป็นความจำเป็นแรกที่จะใช้ติดต่อสื่อสาร มากกว่าโทรศัพท์บ้านที่เขาเลือกใช้เป็นอันดับ 2 ขณะที่ พฤติกรรมการใช้ยังคงเน้นการรับสาย โทรเข้า โทรออกเป็นหลัก หากแต่เริ่มพบว่า กว่า 17% เริ่มใช้มือถือเล่นเกม 22% ใช้ฟังวิทยุ นั่นหมายความว่า กลุ่มคนเหล่านี้เริ่มต้องการใช้งานมือถือที่นอกเหนือจากเสียงมากขึ้น
"สำหรับประเทศไทย บริการบนมือถือสำหรับกลุ่มคนระดับนี้ยังมีน้อยมาก เหตุเพราะผู้ให้บริการคอนเทนท์มากกว่า 80% ล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถอยู่ได้ในโมเดลธุรกิจที่ต้องทำร่วมกับโอเปอเรเตอร์"
ปัจจุบันโอเปอเรเตอร์กินส่วนแบ่งรายได้ด้านคอนเทนท์กว่า 40-50% ขณะที่ผู้ให้บริการคอนเทนท์ได้เท่ากับโอเปอเรเตอร์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สัดส่วนที่ผู้ให้บริการคอนเทนท์จะได้ ควรอยู่ที่ 70% โอเปอเรเตอร์ 30% ซึ่งเป็นสูตรที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วใช้กัน
คอนเทนท์โดนใจหายาก
สัดส่วน 50 :50 จึงสร้างความหนักใจให้เจ้าของคอนเทนท์ได้ไม่น้อย กระทั่งต้องหยุดธุรกิจลง คงเหลือแค่ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ๆ ที่มีพัฒนาคอนเทนท์ของตัวเอง กับเว็บพอร์ทัลขนาดใหญ่ในไทยที่มีแค่ไม่กี่เว็บที่ยังสามารถให้บริการอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้คอนเทนท์ที่ใช้บนมือถือมีจำนวนจำกัด แล้วยิ่งในกลุ่มคนใช้รากหญ้าด้วยแล้ว ยิ่งมีให้ใช้น้อยมาก
สัดส่วน 50 :50 จึงสร้างความหนักใจให้เจ้าของคอนเทนท์ได้ไม่น้อย กระทั่งต้องหยุดธุรกิจลง คงเหลือแค่ผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ๆ ที่มีพัฒนาคอนเทนท์ของตัวเอง กับเว็บพอร์ทัลขนาดใหญ่ในไทยที่มีแค่ไม่กี่เว็บที่ยังสามารถให้บริการอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้คอนเทนท์ที่ใช้บนมือถือมีจำนวนจำกัด แล้วยิ่งในกลุ่มคนใช้รากหญ้าด้วยแล้ว ยิ่งมีให้ใช้น้อยมาก
"ดูจากผลสำรวจ เราจะเห็นว่า กลุ่มคนระดับกลางล่าง ถึงล่าง มีศักยภาพในการใช้บริการเสริมแม้ว่าเขาจะใช้มือถือที่เป็นแค่ฟีเจอร์โฟน ไม่กี่พันบาท แต่หลายคอนเทนท์ที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศสำหรับคนกลุ่มนี้ มือถือราคาไม่แพงก็ยังสามารถใช้งานได้ เช่น การโอนเงินผ่านมือถือ การเล่นเกม การซื้อ virtual gift เพื่อส่งผ่านมือถือให้เพื่อนอีกคนหนึ่ง ไม่ต้องใช้ฟังก์ชันอะไรมาก รวมถึงเอสเอ็มเอสต่างๆ"
นางสาวภูรี ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาของบริษัทคอนเทนท์ โพรไวเดอร์สิงคโปร์ที่ชื่อ บัส ซิตี้ (BuzzCity) เข้ามาดำเนินธุรกิจให้บริการคอนเทนท์ในไทย ผู้บริหารบริษัทนี้ ยืนยันว่า คนไทยมีศักยภาพใช้ "โมบาย เซอร์วิส" โดยเฉพาะกลุ่มคนใช้ระดับกลางล่าง ถึงล่าง
เงินโฆษณาผ่านมือถือเพิ่ม
แม้ว่า กลุ่มคนระดับนี้ จะมีบริการบนมือถือให้เลือกไม่มากนัก แต่ก็ยังปรากฏว่ามีเงินก้อนเล็กๆ จากการโฆษณาผ่านมือถือนางสาวภูรี ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เว็บไซต์มายแกมม่า (My Gamma) โซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง ของบริษัทบัสซิตี้ ที่มีคอนเทนท์ประเภทเกม และถือเป็นบริการบนมือถือที่ได้รับความนิยมสำหรับกลุ่มผู้ใช้คนไทย ปัจจุบันมายแกมม่า มีสมาชิกผู้ใช้ในไทยไม่ต่ำกว่า 200,000 คน
แม้ว่า กลุ่มคนระดับนี้ จะมีบริการบนมือถือให้เลือกไม่มากนัก แต่ก็ยังปรากฏว่ามีเงินก้อนเล็กๆ จากการโฆษณาผ่านมือถือนางสาวภูรี ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เว็บไซต์มายแกมม่า (My Gamma) โซเชียล เน็ตเวิร์คกิ้ง ของบริษัทบัสซิตี้ ที่มีคอนเทนท์ประเภทเกม และถือเป็นบริการบนมือถือที่ได้รับความนิยมสำหรับกลุ่มผู้ใช้คนไทย ปัจจุบันมายแกมม่า มีสมาชิกผู้ใช้ในไทยไม่ต่ำกว่า 200,000 คน
ดังนั้น แม้มายแกมม่าจะให้บริการบนมือถือกับผู้ใช้คนไทยด้านเกมเป็นหลัก แต่ก็ปรากฏว่า ขณะนี้มีคนที่มาลงโฆษณากับมายแกมม่ามากกว่า 35 ราย เพื่อโฆษณาสินค้าไปสู่กลุ่มผู้ใช้มือถือกลุ่มนี้
"นั่นหมายความว่า การมีบริการคอนเทนท์บนมือถือที่หลากหลาย สามารถก่อยอดเงินต่อเนื่องไปยังธุรกิจอื่นได้อีก ในที่นี้หมายถึงโฆษณาบนมือถือ"
นางสาวภูรี แนะว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ควรต้องเข้ามาสร้างกฎเกณฑ์การแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ให้บริการมือถือ และผู้ให้บริการคอนเทนท์ (เจ้าของคอนเทนท์) ให้มีการแบ่งสัดส่วนรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เจ้าของคอนเทนท์สามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้ด้วย ที่สำคัญผู้ให้บริการคอนเทนท์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี)
มือถือต้องโตทั้งปริมาณ+คุณภาพ
"ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้อุตสาหกรรมมือถือของไทย จะสามารถขยายตัวได้อีกมาก ไม่ใช่ขยายตัวในเฉพาะจำนวนมือถือ หากแต่ต้องขยายตัวไปพร้อมๆ กับบริการ หรือคอนเทนท์บนมือถือด้วย เพราะปัจจุบันเทรนด์ของเทคโนโลยีไปไกลแล้ว โอเปอเรเตอร์เองก็รับรู้ถึงรายได้ที่มาจากเสียงลดน้อยลงตามลำดับ ต้องหันมาพึ่งพารายได้ที่มาจากดาต้า หรือบริการเสริมนอนวอยซ์เพิ่มมากขึ้น"
"ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้อุตสาหกรรมมือถือของไทย จะสามารถขยายตัวได้อีกมาก ไม่ใช่ขยายตัวในเฉพาะจำนวนมือถือ หากแต่ต้องขยายตัวไปพร้อมๆ กับบริการ หรือคอนเทนท์บนมือถือด้วย เพราะปัจจุบันเทรนด์ของเทคโนโลยีไปไกลแล้ว โอเปอเรเตอร์เองก็รับรู้ถึงรายได้ที่มาจากเสียงลดน้อยลงตามลำดับ ต้องหันมาพึ่งพารายได้ที่มาจากดาต้า หรือบริการเสริมนอนวอยซ์เพิ่มมากขึ้น"
เธอกล่าวว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องมองไปถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นของมือถือในรูปแบบใหม่ๆ และทำอย่างไรให้คนในสังคม โดยเฉพาะคนในกลุ่มระดับกลางถึงล่าง ที่ผลสำรวจออกมาชัดเจนแล้วว่า เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีศักยภาพขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมือถือ
ทั้งนี้ เพราะด้วยฐานการใช้มือถือที่มีขนาดใหญ่ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเทียบเท่ากับในต่างประเทศ และจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของตลาดมือถือไทยทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เทคโนโลยีได้มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น