เกิล ยักษ์ใหญ่บนโลกอินเตอร์เน็ตขยับตัวอีกแล้ว คราวนี้เป็นการประกาศย้ำจุดยืนของตนอีกครั้งในแผนที่จะเข้าร่วมยื่นซองประกวดราคาชิงคลื่นความถี่ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะจัดประมูลในเร็ววันนี้ ซึ่งแน่นอนเมื่อยักษ์ขยับ คู่แข่งทั้งใหญ่-เล็กย่อมสะเทือนไปทั้งวงการสื่อสารไร้สาย แม้ว่าการประกาศร่วมประมูลคลื่นความถี่ที่จัดโดยคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ (เอฟซีซี) ในวันที่ 24 มกราคม ปีหน้าจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ที่ออกจะเป็นเซอร์ไพรซ์เล็กๆ คือ เกิลประกาสจะลุยเดี่ยวโดยไม่พึ่งมือพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายเลย
หากแต่การทุ่มทุนด้วยตัวเองออกจะแพงและมีความเสี่ยงอยู่มาก แม้กระทั่งกับบริษัททุนหนาและมีเทคโนโลยีไฮเทคอย่างเกิล (ซึ่งประกาศรายได้เมื่อสิ้นสุดในเดือนกันยายนอยู่ที่ราวๆ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ก็ตาม เนื่องจากการประมูลคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ที่เกิลหมายมั่นจะครอบครองให้ได้ คาดว่าจะมีราคาประมูลเริ่มต้นอยู่ที่ 4,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่นักวิเคราะห์ฟันธงว่าราคาสิ้นสุดน่าจะสูงมากกว่านี้มาก ไม่นับรวมต้นทุนวางเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งเบื้องต้นของนายไมเคิล โรลลินส์ นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป โกลบอล มาร์เก็ตส์มองว่าอาจใช้งบอีกราว 5,000-7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กระนั้น ที่เกิลไม่สะทกสะท้านน่าจะเป็นด้วยคุณสมบัติของคลื่นความถี่ที่ท่องไปในระยะทางไกลและผ่านทะลุกำแพงได้ง่าย จึงเป็นข้อได้เปรียบไม่ต้องติดตั้งเสาวิทยุถี่นัก ทั้งความแรงในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายอื่นก็ยังคงประสิทธิภาพได้ดีไม่มีตก ดังนั้นใครก็ตามที่เป็นผู้ชนะประมูลย่อมอยู่ในสายตาของเกิลที่เลือกจะลุยตลาดอุปกรณ์และซอฟต์แวร์โทรศัพท์มือถืออย่างแน่นอน มิเช่นนั้นเกิลคงไม่ล็อบบี้เอฟซีซีให้เลือกใช้เงื่อนไข "การเข้าถึงแบบเปิด" ในการประมูลครั้งนี้ โดยอ้างว่าผู้บริโภคไม่ควรถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของตลาดในปัจจุบันที่จำกัดเพียงโทรศัพท์มือถือบางประเภทที่จะใช้งานบนเครือข่ายไร้สายได้ แต่ผู้บริโภคสมควรมีทางเลือกจากการแข่งขันและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีมากกว่าในโลกไร้สายปัจจุบัน ซึ่งเกิลได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนออกมารองรับการสื่อสารไร้สายในวันข้างหน้าด้วยระบบซอฟต์แวร์แอนดรอยด์สำหรับสมาร์ทโฟนยุคหน้า ซึ่งคาดว่าเครื่องรุ่นแรกที่ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะออกมาในช่วงครึ่งหลังของปี 2551
อย่างไรก็ตาม ความกระตือรือร้นของเกิลที่จะเข้าถึงเครือข่ายไร้สายยังสะท้อนถึงแผนธุรกิจของเกิลที่วางเป้าให้ตลาดโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งทำรายได้แห่งใหม่ที่ยังไม่เคยรุกเข้าไปเนื่องจากมีผู้ให้บริการสื่อสารไร้สายยักษ์ใหญ่หลายรายขวางลำจากกฎเกณฑ์การเข้าถึงเครือข่าย แต่เกิลก็เชื่อว่าหากพัฒนาแพล็ตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับอุปกรณ์และซอฟต์แวร์สื่อสารไร้สายได้มากกว่านี้ ผู้บริโภคน่าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือบ่อยขึ้น และนั่นย่อมหมายถึงรายได้โฆษณาบนอินเตอร์เน็ตที่จะหลั่งไหลเข้าสู่ธุรกิจเกิลอีกทางหนึ่ง
นายมาร์ก มาฮานีย์ นักวิเคราะห์ตลาดอินเตอร์เน็ตของซิตี้กรุ๊ป โกลบอล มาร์เก็ตส์ ประเมินว่าเกิลน่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 แค่เพียงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเวลานั้นซึ่งคาดว่าจะมีถึง 4 พันล้านคนทั่วโลกใช้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเพียงครั้งเดียวต่อเดือน เทียบกับรายได้ในปีนี้ของเกิลซึ่งคาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 16,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่สำคัญการเข้าสู่โลกไร้สายของเกิลยังเป็นอีกช่องทางที่ทำให้เกิลสอดแทรกตัวเข้าไปในตลาดที่บริการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์ของตนยังตกหล่นอยู่ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการขยายธุรกิจของเกิลสู่โลกไร้สายนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น